เขา ‘ตาบอด’ เพราะกระสุนนัดหนึ่งฝังในกะโหลก แต่กลับ ‘ตาสว่าง’ เพราะกระสุนนัดเดียวกันนี้ และทันทีที่ตาสว่าง เขากลับพบว่าประเทศที่ตนอาศัยอยู่ช่างมืดมน ไม่มีทางออก ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีสิ่งซึ่งสามารถไว้วางใจ ทุกสิ่งที่เคยมองเห็นล้วนแต่เป็นเพียง ‘ภาพลวงตา’ ตาสว่าง หรือ IL RE DI BANGKOK คือนิยายภาพ (graphic novel) ที่ดัดแปลงจากเหตุการณ์จริง ฉากหลังของเรื่องเกิดในประเทศไทยตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ถึง ทศวรรษ 2550 งาน fiction ชิ้นนี้คือส่วนผสมระหว่างการศึกษาด้านมานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัย ศิลปะการประพันธ์ และงานกราฟิก องค์ประกอบเหล่านี้ได้สร้างความหมายกระทบใจในเชิงกวีนิพนธ์ คณะผู้แต่ง ตาสว่าง ได้ศึกษาค้นคว้าทางด้านมานุษยวิทยาในประเทศไทยเป็นเวลาสิบปี บวกกับบทสัมภาษณ์กว่าร้อยชั่วโมง โดยได้เข้ามาพำนักอยู่ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2558 จัดทำคลังข้อมูลทั้งในรูปแบบของภาพถ่ายและฟิล์มภาพยนตร์ กว่า 5,000 รายการ โดยใช้เอกสารจากหอสมุดแห่งชาติ หอภาพยนตร์ และงานสะสมส่วนบุคคลของนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทั้งหมดนี้เพื่อกอปรสร้างชีวิตของ ‘นก’ มอเตอร์ไซค์รับจ้างชาวอุดรธานีผู้เข้ามาแสวงหาชีวิตที่ดีในเมืองหลวงช่วงกลางทศวรรษ 2520 ชีวิตของนกถูกเหวี่ยงด้วยแรงลมของการเมืองที่พัดเพในแต่ละยุคสมัย แต่เขากลับรู้สึกมีอิสระดุจนกบิน หรืออาจจะตระหนักเพียงว่าเกิดเป็นนกก็ต้องบิน แต่แรงลมของการเมืองนี้เองได้ดูดดึงเขาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับคนเสื้อแดง ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพในสิทธิของตน เสรีภาพของตน ตื่นรู้ ตระหนักถึงตัวตนทางการเมือง อิสระดุจนกก่อนหน้านี้คือ ‘ภาพลวงตา’ ก่อนที่ลมจะพัดพรากทุกสิ่งไปหลังสูญเสียดวงตาจากการสลายการชุมนุมทางการเมืองของคนเสื้อแดง ปี 2553 และ ‘ภาพลวงตา’ กลับมาตอกย้ำภาวะ ‘ตาสว่าง’ อีกครั้งหลังรัฐบาลที่เขาสนับสนุนชนะการเลือกตั้งในปี 2554 ทันทีที่ตาสว่าง เขากลับมองเห็นประเทศที่ตนอาศัยอยู่ช่างมืดมน ไม่มีทางออก ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีสิ่งซึ่งสามารถไว้วางใจ ทุกสิ่งที่เคยมองเห็นล้วนแต่เป็นเพียง ‘ภาพลวงตา’ กระสุนทำให้เขา ‘ตาบอด’ และ ‘ตาสว่าง’ ภายในนัดเดียว เหมือนนายพรานยิงปืนหนึ่งนัดได้นกสองตัว ชีวิตเพียงหนึ่งชีวิตของชาวอีสานผู้นี้กลายเป็นการบอกเล่าชะตากรรมของคนในสังคมไทยได้ทั้งประเทศ เรื่องราวในนิยายภาพเป็นประหนึ่งบันทึกประวัติศาสตร์การเมืองของสังคมไทย แม้ตัวละคร ‘ตาบอด’ ในเรื่องจะ ‘ตาสว่าง’ แต่ยังไม่มี ‘แสงสว่าง’ ของประเทศ ไม่ว่าจะในหรือนอกนิยายภาพเล่มนี้

Call No. : 853 ซ712ต 2563
Publisher : สำนักพิมพ์ อ่านอิตาลี
Published Date :
Page : 224 หน้า
Rating :
Barcode Title of Copy Status
PB002640 ตาสว่าง On shelf  Login 

MARC Information

020 a : ISBN 
978-616-9348-70-2 
050 b : Publish Year 
2563 
082 a : Classification number 
853 
082 b : Item number 
ซ712ต 
100 a : Author 
245 a : Title 
ตาสว่าง 
260 a : Place of publication 
บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด 
260 b : Name of publisher 
สำนักพิมพ์ อ่านอิตาลี 
260 c : Date of publication 
ธันวาคม 2563 
300 a : Total pages 
224 หน้า 
520 a : Description 
เขา ‘ตาบอด’ เพราะกระสุนนัดหนึ่งฝังในกะโหลก แต่กลับ ‘ตาสว่าง’ เพราะกระสุนนัดเดียวกันนี้ และทันทีที่ตาสว่าง เขากลับพบว่าประเทศที่ตนอาศัยอยู่ช่างมืดมน ไม่มีทางออก ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีสิ่งซึ่งสามารถไว้วางใจ ทุกสิ่งที่เคยมองเห็นล้วนแต่เป็นเพียง ‘ภาพลวงตา’ ตาสว่าง หรือ IL RE DI BANGKOK คือนิยายภาพ (graphic novel) ที่ดัดแปลงจากเหตุการณ์จริง ฉากหลังของเรื่องเกิดในประเทศไทยตั้งแต่ทศวรรษ 2520 ถึง ทศวรรษ 2550 งาน fiction ชิ้นนี้คือส่วนผสมระหว่างการศึกษาด้านมานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัย ศิลปะการประพันธ์ และงานกราฟิก องค์ประกอบเหล่านี้ได้สร้างความหมายกระทบใจในเชิงกวีนิพนธ์ คณะผู้แต่ง ตาสว่าง ได้ศึกษาค้นคว้าทางด้านมานุษยวิทยาในประเทศไทยเป็นเวลาสิบปี บวกกับบทสัมภาษณ์กว่าร้อยชั่วโมง โดยได้เข้ามาพำนักอยู่ในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2558 จัดทำคลังข้อมูลทั้งในรูปแบบของภาพถ่ายและฟิล์มภาพยนตร์ กว่า 5,000 รายการ โดยใช้เอกสารจากหอสมุดแห่งชาติ หอภาพยนตร์ และงานสะสมส่วนบุคคลของนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ทั้งหมดนี้เพื่อกอปรสร้างชีวิตของ ‘นก’ มอเตอร์ไซค์รับจ้างชาวอุดรธานีผู้เข้ามาแสวงหาชีวิตที่ดีในเมืองหลวงช่วงกลางทศวรรษ 2520 ชีวิตของนกถูกเหวี่ยงด้วยแรงลมของการเมืองที่พัดเพในแต่ละยุคสมัย แต่เขากลับรู้สึกมีอิสระดุจนกบิน หรืออาจจะตระหนักเพียงว่าเกิดเป็นนกก็ต้องบิน แต่แรงลมของการเมืองนี้เองได้ดูดดึงเขาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับคนเสื้อแดง ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพในสิทธิของตน เสรีภาพของตน ตื่นรู้ ตระหนักถึงตัวตนทางการเมือง อิสระดุจนกก่อนหน้านี้คือ ‘ภาพลวงตา’ ก่อนที่ลมจะพัดพรากทุกสิ่งไปหลังสูญเสียดวงตาจากการสลายการชุมนุมทางการเมืองของคนเสื้อแดง ปี 2553 และ ‘ภาพลวงตา’ กลับมาตอกย้ำภาวะ ‘ตาสว่าง’ อีกครั้งหลังรัฐบาลที่เขาสนับสนุนชนะการเลือกตั้งในปี 2554 ทันทีที่ตาสว่าง เขากลับมองเห็นประเทศที่ตนอาศัยอยู่ช่างมืดมน ไม่มีทางออก ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีสิ่งซึ่งสามารถไว้วางใจ ทุกสิ่งที่เคยมองเห็นล้วนแต่เป็นเพียง ‘ภาพลวงตา’ กระสุนทำให้เขา ‘ตาบอด’ และ ‘ตาสว่าง’ ภายในนัดเดียว เหมือนนายพรานยิงปืนหนึ่งนัดได้นกสองตัว ชีวิตเพียงหนึ่งชีวิตของชาวอีสานผู้นี้กลายเป็นการบอกเล่าชะตากรรมของคนในสังคมไทยได้ทั้งประเทศ เรื่องราวในนิยายภาพเป็นประหนึ่งบันทึกประวัติศาสตร์การเมืองของสังคมไทย แม้ตัวละคร ‘ตาบอด’ ในเรื่องจะ ‘ตาสว่าง’ แต่ยังไม่มี ‘แสงสว่าง’ ของประเทศ ไม่ว่าจะในหรือนอกนิยายภาพเล่มนี้ 
650 a : Subject 

No Reviews

  1. There are no reviews yet, why not be the first.