เป็นเรื่องธรรมดาถ้าเราจะคิดว่า คนจนหมายถึงคนที่ไม่ค่อยมีเงิน แปลว่าไม่น่าจะจำเป็นต้องคิดมากเรื่องการจัดการเงิน เพราะไม่ค่อยมีเงินให้จัดการ แต่ข้อเท็จจริงกลับตรงกันข้าม เพราะยิ่งมีเงินน้อย ยิ่งต้องการการดูแลและจัดการเงินมากเป็นพิเศษ "สจวร์ต รัทเทอร์ฟอร์ด" นักวิจัย ที่ปรึกษา และผู้ประกอบการด้านไมโครไฟแนนซ์ (microfinance ในไทยนิยมแปลว่า "การเงินขนาดจิ๋ว" หรือ "การเงินฐานราก" ) ผู้คร่ำหวอดในวงการมานานกว่าสี่ทศวรรษ ร่วมกับ "สุขวินทร์ อาโรรา" เพื่อนคู่คิดของเขา เขียนหนังสือ "การเงินคนจน" เล่มนี้ขึ้นมาอธิบายอย่างแจ่มชัดเข้าใจง่ายว่า การจัดการเงินนั้นจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนจน เพราะพวกเขามีความจำเป็นต้องแปลงเงินออมให้เป็นเงินก้อนโตที่มีประโยชน์ เพื่อใช้จ่ายในวันนี้หรือในอนาคต ในการออมเงินของคนจน สิ่งที่พวกเขาต้องการคือ "ตัวกลางฐานรากด้านการเงินส่วนบุคคล" ที่ช่วยให้เขาแปลงเงินออมเป็นเงินก้อนอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้เขียนก็อธิบายรูปแบบการให้บริการของตัวกลางฐานรากที่น่าทึ่งและหลากหลายจากทั่วโลก ตั้งแต่กลไกที่คนจนออกแบบขึ้นมาช่วยเหลือกันเอง เช่น วงแชร์ ชมรมออมทรัพย์ กลุ่มออมทรัพย์ ไปจนถึงกลไกกึ่งในระบบ และบริการทางการเงินในระบบที่มีคนนอกชุมชนเข้ามาช่วยจัดตั้งหรือให้บริการ เช่น โรงรับจำนำ สหกรณ์ออมทรัพย์ และสถาบันการเงินขนาดจิ๋วหรือไมโครไฟแนนซ์ เมื่อไมโครไฟแนนซ์ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น หนังสือเล่มนี้ก็ชวนให้เราตั้งคำถามว่า การออกแบบบริการทางการเงินเหล่านี้ เป็นการออกแบบเพื่อคนจนจริงๆ หรือเปล่า? "การเงินคนจน" จะทำให้คุณเข้าใจและพฤติกรรมและความต้องการทางการเงินของคนจนอย่างแท้จริง
Barcode | Title of Copy | Status | |
---|---|---|---|
PB002744 | การเงินคนจน การเงิน | On shelf | Login |
MARC Information